เศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมสิ่งทอ: นวัตกรรมขับเคลื่อนความยั่งยืน

Circular Economy
06/02/2568     |     อ่าน : 132 ครั้ง

เศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมสิ่งทอ: นวัตกรรมขับเคลื่อนความยั่งยืน

เศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมสิ่งทอ: นวัตกรรมขับเคลื่อนความยั่งยืน

ความยั่งยืน (Sustainability) ปัจจุบันกลายเป็นหนึ่งในลำดับความสำคัญสูงสุดของอุตสาหกรรมสิ่งทอแล้ว ความยั่งยืนไม่ใช่เพียงแค่การใช้ฝ้ายอินทรีย์และการปรับปรุงสภาพการทำงานที่ดีขึ้นเท่านั้น

อุตสาหกรรมสิ่งทอเผชิญกับความท้าทายที่เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าภายในปี 2568 จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สู่ชั้นบรรยากาศโลกถึง 25% ของปริมาณการปล่อยก๊าซทั่วโลก เมื่อพิจารณาจากการคาดการณ์ที่น่าตกใจนี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่อุตสาหกรรมสิ่งทอจะต้องเร่งปรับปรุงรูปแบบการผลิตและการบริโภคให้มีความยั่งยืนมากขึ้น การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา และการนำหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินงานเชิงยั่งยืนในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

สหภาพยุโรปได้สร้างแรงกดดัน ทำให้ความยั่งยืนได้กลายเป็นประเด็นสำคัญสำหรับบริษัทในอุตสาหกรรมสิ่งทอและอยู่ในลำดับความสำคัญสูงสุดของ EU เป้าหมายของการทำให้สหภาพยุโรปเป็นกลางทางสภาพภูมิอากาศภายในปี 2593 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิลงอย่างน้อย 55% ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับปี 2533 กำลังกดดันอุตสาหกรรม ด้วยโครงการริเริ่มต่างๆ เช่น กรีนดีล (Green Deal) และแผนปฏิบัติการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Action Plan) สหภาพยุโรปได้ทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นหัวใจสำคัญของวาระการประชุมของตน แบบจำลองเศรษฐกิจหมุนเวียนกำลังได้รับความสนใจทางการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ

เศรษฐกิจหมุนเวียนคืออะไร? เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ผลิตภัณฑ์และวัสดุถูกแบ่งปัน เช่า ใช้ซ้ำ ซ่อมแซม ปรับปรุงใหม่ และรีไซเคิล (recycled) ให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สิ่งนี้ช่วยยืดอายุวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์และอนุรักษ์ทรัพยากร เศรษฐกิจหมุนเวียนมีศักยภาพในการเพิ่มการสร้างมูลค่าในระดับภูมิภาค สร้างงาน และเสริมสร้างวงจรเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของวิกฤตและการขาดแคลนทรัพยากร

4 ตัวอย่างของเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

   1. การรีไซเคิล (Recycling)
เมื่อนำสิ่งทอไปรีไซเคิล ผลิตภัณฑ์สามารถถูกแยกตามองค์ประกอบของชิ้นส่วนนั้น เพื่อผลิตสินค้าใหม่หรือปรับแต่งเสื้อผ้าเพิ่มเติม ขั้นตอนนี้เป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในการรีไซเคิลสิ่งทอคือความหลากหลายของวัสดุ เสื้อผ้ามักประกอบด้วยผ้าชนิดต่างๆ ชิ้นส่วนขนาดเล็ก เครื่องตกแต่ง (embellishment) เช่น กระดุมหรือซิป และวัตถุดิบดิบที่แตกต่างกันมากมาย ซึ่งทำให้กระบวนการรีไซเคิลทำได้ยากและไม่คุ้มค่า สำหรับบริษัทหลายแห่ง จำเป็นต้องมีการตรวจสอบกระบวนการที่มีอยู่โดยละเอียด และมักส่งผลให้เกิดนวัตกรรมกระบวนการ เช่น การรีไซเคิลเชิงกล (mechanical recycling) และการรีไซเคิลทางเคมี (chemical recycling) ในการรีไซเคิลเชิงกล สิ่งทอที่ใช้แล้วจะถูกฉีกและแปรรูปเป็นเส้นใยใหม่ ทำให้สามารถนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ได้ ในทางกลับกัน ในการรีไซเคิลทางเคมี สิ่งทอจะได้รับการบำบัดทางเคมีเพื่อย่อยสลายเส้นใยและนำกลับสู่วัสดุเดิม ซึ่งช่วยให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีคุณภาพสูง
ตัวอย่างหนึ่งของบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการใช้การรีไซเคิลทางเคมีสำหรับสิ่งทอคือ "Evrnu" ในการรีไซเคิลสิ่งทอ Evrnu ได้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อแปลงสิ่งทอที่ใช้แล้วให้เป็นเส้นใยคุณภาพสูง กระบวนการทางเคมีถูกใช้เพื่อแยกเส้นใยฝ้ายที่ใช้แล้วและแปลงเป็นเส้นใยใหม่ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอใหม่ได้

   2. การใช้ซ้ำ (Reuse)
การนำผลิตภัณฑ์หรือส่วนประกอบกลับมาใช้ซ้ำใหม่ได้ เป็นสิ่งที่น่าสนใจในเศรษฐกิจหมุนเวียน แนวคิดคือการนำสิ่งทอและเสื้อผ้ากลับมาใช้ใหม่แทนที่จะทิ้งไปหลังการใช้งาน บริษัทต่างๆ สามารถได้รับประโยชน์จากข้อดีหลายประการที่นี่ ไม่เพียงแต่สามารถลดขยะและต้นทุนการผลิตเท่านั้น แต่ยังสามารถเสริมสร้างความภักดีของลูกค้าผ่านการปฏิบัติที่ยั่งยืน บริษัทที่มองเห็นศักยภาพในที่นี้สามารถใช้การออกแบบบริการ (service design) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเพื่อรักษาลูกค้าหรือผู้บริโภคได้ มีแนวทางที่เป็นนวัตกรรมใหม่ในด้านนี้เช่นกัน เช่น เทคโนโลยีสำหรับการแปรรูปและทำความสะอาดสิ่งทอที่ใช้แล้วเพื่อยืดอายุการใช้งาน ตัวอย่างเช่น การเช่าหรือให้เช่าเสื้อผ้ากำลังสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ที่ไม่เพียงแต่ให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังให้ประโยชน์ทางนิเวศวิทยาด้วย แม้จะมีความคืบหน้า แต่ยังคงต้องการนวัตกรรมเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการออกแบบสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ทนทานและสามารถรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น และในด้านโลจิสติกส์สำหรับการส่งคืนและรีไซเคิลสิ่งทอ
ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จของบริษัทที่พึ่งพา "การใช้ซ้ำ" คือ Patagonia แบรนด์ผลิตภัณฑ์กลางแจ้ง (outdoor brand) ได้เปิดตัวโครงการชื่อ "Worn Wear" ซึ่งรวมถึงบริการซ่อมแซมและการขายเสื้อผ้าที่ใช้แล้ว เป้าหมายคือการยืดอายุการใช้งานของเสื้อผ้าและทำให้วัสดุเกิดประโยชน์สูงสุด

   3. การซ่อมแซม (Repair)
ด้านการซ่อมแซมผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ชำรุดแทนที่จะทิ้งไป การซ่อมแซมช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยยืดอายุวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ กำลังมีการพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการที่เป็นนวัตกรรมใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อทำให้การซ่อมแซมสิ่งทอมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพสูงขึ้น ซึ่งรวมถึงระบบซ่อมแซมอัตโนมัติและการใช้วัสดุที่เป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ทนทานยิ่งขึ้น
ตัวอย่างหนึ่งของบริษัทที่นำแนวทางนี้มาใช้ได้สำเร็จคือแบรนด์เสื้อผ้า Nudie Jeans ได้เปิดตัวโครงการซ่อมแซมที่ครอบคลุมชื่อ "Nudie Jeans Repair Shops" เพื่อเสนอบริการซ่อมแซมให้กับลูกค้าและยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ สำหรับบริษัทจากภาคส่วนอื่นๆ (เช่น วิศวกรรมเครื่องกลหรือเทคโนโลยีกระบวนการ) สิ่งนี้เปิดโอกาสในการเปิดพื้นที่ทางธุรกิจใหม่ๆ ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชันสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอผ่าน การพัฒนาธุรกิจใหม่ (new business development)

   4. การเช่าเสื้อผ้าและสิ่งทอ (Renting)
การเช่ากำลังมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในบริบทของเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมสิ่งทอ แนวคิดคือลูกค้าสามารถเช่าเสื้อผ้าและสิ่งทอแทนการซื้อ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น บริษัทให้เช่าใช้เสื้อผ้าเป็นระยะเวลาหนึ่ง จากนั้นจึงนำกลับมาทำความสะอาด ซ่อมแซม และให้เช่าใหม่อีกครั้ง ข้อดีสำหรับบริษัทมีมากมาย นอกเหนือจากแหล่งรายได้ที่มั่นคงผ่านรายได้ค่าเช่าที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซาก แนวคิดนี้ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตและขยะได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังส่งเสริมวิถีชีวิตที่ยั่งยืนในหมู่ผู้บริโภคโดยลดการบริโภคเสื้อผ้าที่สวมใส่ไม่บ่อยนัก เสื้อผ้าบางชุดใส่เพียงครั้งเดียว ซึ่งมีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้ธุรกิจเสื้อผ้าเช่านี้ยืดหยุ่นได้
ตัวอย่างหนึ่งของบริษัทที่สามารถนำการเช่ามาใช้ได้สำเร็จคือ "Rent the Runway" บริการออนไลน์นี้ให้เช่าเสื้อผ้าและเครื่องประดับของดีไซเนอร์และให้โอกาสแก่ลูกค้าในการขยายตู้เสื้อผ้าโดยไม่ต้องซื้อสินค้าแต่ละรายการจำนวนมาก

   สรุป
ตัวอย่างทั้งสี่ที่นำเสนอสะท้อนถึงเสาหลักที่สำคัญที่สุดสี่ประการของเศรษฐกิจหมุนเวียน สามารถใช้วิธีการบริหารจัดการนวัตกรรม เพื่อทำงานด้านนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ เช่น การออกแบบบริการ (service design) เพื่อให้บริการกับลูกค้า การพัฒนาระบบการผลิต เป็นต้น แม้ว่าแรงกดดันในต่างประเทศที่สูงมาก มีการริเริ่มโครงการต่างๆ เช่น กรีนดีล (Green Deal) และแผนปฏิบัติการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Action Plan) หากมีความเข้าใจ ผู้ประกอบการจะสามารถเปลี่ยนเงื่อนไขกรอบงานใหม่ให้เป็นกลยุทธ์เพื่อทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จสำหรับบริษัทของตนได้ต่อไป

ที่มา : https://www.lead-innovation.com/en/insights/blog/kreislaufwirtschaft-in-der-textilindustrie

ข่าวสารความเคลื่อนไหว
เครือข่าย IWIN เปิดตัวโครงการ Circular Upholstery Textile เป้าหมายเพื่อเปลี่ยนเส้นทางของเสียจากหลุมฝังกลบกลับมาใช้ใหม่และการรีไซเคิล
Le Casino เปลี่ยนขยะเป็นโอกาสกับเส้นทางเดินของรองเท้ารักษ์โลก
ญี่ปุ่นตั้งเป้าขยายธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียน
ยุทธศาสตร์ใหม่ของสหภาพยุโรปสำหรับสิ่งทอที่ยั่งยืนและสิ่งทอหมุนเวียน
COP27 เริ่มแล้ว ประเด็นร้อนการหารือเรื่องการให้ชาติร่ำรวยต้องชดเชยให้กับชาติยากจนที่ได้รับผลกระทบจากโลกร้อน
Marimekko นำร่องโครงการ Closed Loop โดยใช้วัสดุเหลือใช้
นวัตกรรมเส้นใยจากใบอ้อยสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตรสู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นจากธรรมชาติ