Le Casino เปลี่ยนขยะเป็นโอกาสกับเส้นทางเดินของรองเท้ารักษ์โลก

Business Model
30/08/2565     |     อ่าน : 313 ครั้ง

Le Casino เปลี่ยนขยะเป็นโอกาสกับเส้นทางเดินของรองเท้ารักษ์โลก

Le Casino เปลี่ยนขยะเป็นโอกาสกับเส้นทางเดินของรองเท้ารักษ์โลก

Le Casino เปลี่ยนขยะเป็นโอกาสกับเส้นทางเดินของรองเท้ารักษ์โลก

“เราอาจจะไม่ต้องหาอะไรที่ไกลตัว แค่มองใกล้ๆ ตัวเราอาจจะเห็นโอกาสมากมาย เช่นเดียวกับ รองเท้ารักษ์โลก ที่ไม่ใช่เพียงสวมใส่สบายและสวยงาม แต่ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” คุณกัญชรัตน์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Le Casino และดีไซเนอร์
“Le Casino” แบรนด์รองเท้าสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีของไทย ที่ก่อตั้งโดย ดีไซเนอร์ไทย จากจุดเริ่มต้นของธุรกิจครอบครัว ที่อยู่ในวงการผลิตรองเท้ามากว่า 30 ปี เริ่มต้นตั้งแต่จำหน่ายวัตถุดิบให้กับโรงงานผลิตรองเท้า ทำ OEM จนเริ่มมาผลิตจำหน่ายเอง
จากต้นกำเนิดของธุรกิจครอบครัว สู่ความชอบส่วนตัวและความรักที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ที่ถูกแปรผันมาต่อยอดด้วยเศษขยะเหลือทิ้ง จนขึ้นหิ้งแบรนด์รักษ์โลกที่ทันสมัย มีเอกลักษณ์ และความหรูหรา โดยมีการผลิตคอลเลคชั่นใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง
แนวคิดของ แบรนด์ Le Casino เกิดจากการเห็นเศษหนังเหลือทิ้งจำนวนมาก จากการผลิตรองเท้า และของเสียจากการฟอกหนัง ที่ไหลลงสู่ทะเล จึงมีความคิดว่าอยากจะหาวัสดุอื่นมาทดแทนหนัง โดยทางแบรนด์ได้ทำการศึกษาข้อมูลมากมาย จึงได้พบว่าในต่างประเทศมีการนำขวดพลาสติก มาแปรรูปให้กลายเป็นของใช้ต่างๆ อย่างแพร่หลาย และด้วยที่พื้นฐานครอบครัวที่ทำธุรกิจผลิตรองเท้า จึงได้มีความคิดริเริ่มหาหนทางดำเนินการผลิตรองเท้ารักษ์โลกจากเศษขยะเหลือใช้และทำให้สามารถใส่ได้แบบมีอายุการใช้งานได้ยาวนาน
คุณกัญชรัตน์ ยังได้กล่าวต่ออีกว่า ที่เลือกใช้ขวดพลาสติกใช้แล้ว เนื่องจากเป็นวัสดุที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ด้วยในกระบวนการการผลิตได้ใช้ความร้อนในการรีดวัสดุและผสมสีเข้าไปในเม็ดสีพลาสติกทันที ทำให้ไม่เกิดสารพิษหรือของเสียออกมาภายนอก
สำหรับแนวคิดของ “Le Casino” นั้น เน้นการนำวัตถุดิบเหลือใช้มาหมุนเวียน เพื่อให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง โดยทางแบรนด์ได้กำหนดแนวทางอย่างชัดเจนกับผู้ผลิต ยกตัวอย่างเช่น ส่วนประกอบของรองเท้าที่วางสู่ตลาดนั้น จะสามารถนำกลับรีไซเคิลใหม่ได้ อีกด้วย
ปัจจุบัน “Le Casino” ได้คลอด Collection Waste to Wow กับการเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง เพื่อนำมาประกอบเป็นรองเท้า ผลิตด้วยงานฝีมือ (แฮนด์เมด) จากช่างที่มีฝีมือคุณภาพของไทย ซึ่งแบรนด์นี้ เป็นแบรนด์แรกในไทยที่ผลิตรองเท้าจากขวดพลาสติก มีมายาวนานเกือบ 10 ปี
พลิกวิกฤต Covid-19 สู่โอกาสเติบโตบนโลกออนไลน์
ด้วยความคุ้นชินกับธุรกิจและรากฐานของลูกค้า ที่มักจะมาซื้อผ่านหน้าร้าน คุณกัญชรัตน์ จึงมุ่งหน้าทำแบรนด์ผ่านทางช่องทางออฟไลน์มาโดยตลอด จนกระทั่งได้พบกับสถานการณ์ Covid-19 ทำให้ศูนย์การค้าถูกสั่งปิด ส่งผลกระทบทำให้ยอดขายตกต่ำลงอย่างมาก
แบรนด์ Le Casino ได้เปลี่ยนแผนการตลาดใหม่ทั้งหมด โดยได้นำบทเรียนจาก Covid-19 พลิกวิกฤตมาทำการตลาดออนไลน์ สร้างฐานลูกค้าใหม่ โดยการทำโฆษณาให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้รู้จักกับแบรนด์มากขึ้น จนปัจจุบันทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่แค่เพียงความสำเร็จด้านยอดขาย แต่ Le Casino ได้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้นจากลูกค้ากลุ่มเดิมๆ
คุณกัญชรัตน์ ได้นำเสนอ แบรนด์ Le Casino ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยได้ชูจุดเด่นจากวัตถุการผลิตรองเท้าที่พัฒนามาจากขวดพลาสติกรีไซเคิล รายแรกของไทย ที่มีดีไซน์ที่สวยงาม ทำความสะอาดง่าย และใช้ได้ทนทาน ซึ่งคุณสมบัติทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ล้วนเป้นจุดขายที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์เป็นอย่างมาก
จากความสาหัส สู่การพัฒนาการตลาดของแบรนด์ ทำให้ปัจจุบัน แบรนด์ Le Casino เรียกได้ว่าเข้าสู่การตลาดออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ
คุณกัญชรัตน์ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า แรงบันดาลใจ เกิดขึ้นจากสิ่งรอบๆ ตัวเราเอง บางทีเราอาจจะไม่ต้องไปมองหาไกลๆ ว่าเราจะทำอะไรดี บางครั้งมันอาจจะอยู่ใกล้ตัวเราแค่นี้แต่เรามองไม่เห็นมัน
อย่างที่ทราบว่าในทุกช่วงของวิกฤตการณ์ มักมาพร้อมกับการปรับเปลี่ยนของตลาดอยู่เสมอ หลากหลายธุรกิจประสบปัญหา หลากหลายธุรกิจพบทางออกที่ดี หรือแม้แต่บางธุรกิจอาจจะต้องปิดตัวลง
ในทุกการเปลี่ยนแปลงของการทำการตลาด จะเห็นได้ว่าได้มีองค์มากมายเกิดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น สสว. อุทยานวิทยาศาสตร์หรือกระทรวงต่าง ๆ อีกมากมาย ทั้งนี้หากผู้ประกอบการ หรือผู้ที่อยากทำธุรกิจ มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ก็สามารถเข้าร่วมโครงการฯ ที่เกิดขึ้นตามองค์กรต่างๆ ได้เช่นกัน















ข่าวสารความเคลื่อนไหว
เครือข่าย IWIN เปิดตัวโครงการ Circular Upholstery Textile เป้าหมายเพื่อเปลี่ยนเส้นทางของเสียจากหลุมฝังกลบกลับมาใช้ใหม่และการรีไซเคิล
ญี่ปุ่นตั้งเป้าขยายธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียน
ยุทธศาสตร์ใหม่ของสหภาพยุโรปสำหรับสิ่งทอที่ยั่งยืนและสิ่งทอหมุนเวียน
COP27 เริ่มแล้ว ประเด็นร้อนการหารือเรื่องการให้ชาติร่ำรวยต้องชดเชยให้กับชาติยากจนที่ได้รับผลกระทบจากโลกร้อน
Marimekko นำร่องโครงการ Closed Loop โดยใช้วัสดุเหลือใช้
นวัตกรรมเส้นใยจากใบอ้อยสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตรสู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นจากธรรมชาติ
อุตสาหกรรมสิ่งทอแฟชั่นขานรับ BCG โมเดล พัฒนาธุรกิจด้วยความยั่งยืน