Marimekko นำร่องโครงการ Closed Loop โดยใช้วัสดุเหลือใช้

นวัตกรรม / การออกแบบ
22/11/2565     |     อ่าน : 576 ครั้ง

Marimekko บริษัทสิ่งทอและเสื้อผ้าสัญชาติฟินแลนด์ เปิดเผยว่า จะเริ่มนำร่องการผลิตสิ่งทอแบบ Closed-loop Circular Economy ในห่วงโซ่มูลค่าของบริษัท

Marimekko บริษัทสิ่งทอและเสื้อผ้าสัญชาติฟินแลนด์ เปิดเผยว่า จะเริ่มนำร่องการผลิตสิ่งทอแบบ Closed-loop Circular Economy ในห่วงโซ่มูลค่าของบริษัท

   'Mari' อวตารของ Marimekko สวมเสื้อฮู้ด Unikko ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือกับ Pedrosa & Rodrigues  (ภาพ : fashionunited.uk)

โครงการนี้เปิดตัวในงาน Slush 2022 ซึ่งเป็นงาน start-up and technology ด้วยการใช้ 'Mari' ซึ่งเป็นอวตารเสมือนจริง ภายในแพลตฟอร์ม metaverse, Decentraland เปิดตัวเสื้อฮู้ด 'Unikko' คอลเลกชั่นใหม่ที่ผลิตขึ้นโดยมีส่วนผสมเส้นใย regenerated fibres มีแผนจะวางตลาดในปี 2566 

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นความร่วมมือกับผู้ผลิตสิ่งทอของโปรตุเกส Pedrosa & Rodrigues ที่เห็นว่าขยะและวัสดุที่เหลือจากผลิตภัณฑ์เสื้อของ Marimekko สามารถใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับสินค้าใหม่เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ closed-loop นี้ ผลิตภัณฑ์ใหม่นี้จะมีส่วนผสมของเส้นใยฝ้ายแบบ regenerated fibres อย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละประเภทของผลิตภัณฑ์ 

Marimekko หวังว่าโครงการนี้จะช่วยในการค้นหาวิธีลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตสิ่งทอ และจะมีการวิเคราะห์วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์โดยใช้เส้นใย circular fiber โดยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนของบริษัท 

Rebekka Bay ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของ Marimekko กล่าวถึงกลยุทธ์ด้านวัสดุของบริษัทว่า เป้าหมายระยะยาวของบริษัทคือ “มุ่งสู่วัสดุแบบ circular material ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายครั้ง” โดยไม่สูญเสียคุณภาพหรือความทนทาน

อ้างอิง : https://fashionunited.uk/news/business/marimekko-to-pilot-closed-loop-project-using-leftover-materials/2022112166339

ข่าวสารความเคลื่อนไหว
เครือข่าย IWIN เปิดตัวโครงการ Circular Upholstery Textile เป้าหมายเพื่อเปลี่ยนเส้นทางของเสียจากหลุมฝังกลบกลับมาใช้ใหม่และการรีไซเคิล
Le Casino เปลี่ยนขยะเป็นโอกาสกับเส้นทางเดินของรองเท้ารักษ์โลก
ญี่ปุ่นตั้งเป้าขยายธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียน
ยุทธศาสตร์ใหม่ของสหภาพยุโรปสำหรับสิ่งทอที่ยั่งยืนและสิ่งทอหมุนเวียน
COP27 เริ่มแล้ว ประเด็นร้อนการหารือเรื่องการให้ชาติร่ำรวยต้องชดเชยให้กับชาติยากจนที่ได้รับผลกระทบจากโลกร้อน
นวัตกรรมเส้นใยจากใบอ้อยสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตรสู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นจากธรรมชาติ
อุตสาหกรรมสิ่งทอแฟชั่นขานรับ BCG โมเดล พัฒนาธุรกิจด้วยความยั่งยืน