ญี่ปุ่นตั้งเป้าขยายธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียน

กฎระเบียบ/มาตรการ
02/11/2565     |     อ่าน : 332 ครั้ง

ประเทศญี่ปุ่นตั้งเป้าขยายธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่สังคมที่เป็นกลางด้านคาร์บอนในปี 2050

ประเทศญี่ปุ่นตั้งเป้าขยายธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่สังคมที่เป็นกลางด้านคาร์บอนในปี 2050

ภาพ : https://www.greensquare.com.sg/

ญี่ปุ่นตั้งเป้าเพิ่มขนาดของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน ให้เป็น 80 ล้านล้านเยน หรือเท่ากับ 583.7 พันล้านดอลลาร์ ภายในปี 2530 (พ.ศ. 2573) โดยมุ่งเน้นที่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนผ่านการใช้ผลิตภัณฑ์และทรัพยากรซ้ำๆ

ปัจจุบันธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียนมีมูลค่าประมาณ 50 ล้านล้านเยน รัฐบาลญี่ปุ่นเร่งส่งเสริมแนวทางปฏิบัติโดยเริ่มต้นที่การรีไซเคิลวัตถุดิบและกระจายสินค้ามือสอง เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน และมีการเร่งส่งเสริมธุรกิจใหม่ เช่น แอปพลิเคชั่นสำหรับขายสินค้ามือสองและการให้เช่าเสื้อผ้า ซึ่งจะเป็นขั้นตอนไปสู่สังคมที่เป็นกลางด้านคาร์บอนในปี 2050 (พ.ศ.2593)
 
ในปีงบประมาณ 2023 กระทรวงสิ่งแวดล้อมมีแผนของบประมาณเริ่มต้นสำหรับการดำเนินการสนับสนุนรวมไปถึงการช่วยเหลือทางการเงินสำหรับบริษัทญี่ปุ่น โดยแผนการจะรวมถึงมาตรการในการจัดการแผงโซล่าร์เซลล์ที่คาดว่าจะหมดอายุในช่วงปลายทศวรรษ 2030s ด้วย การออกกฎหมายให้ใช้ซ้ำหรือรีไซเคิลแผงโซล่าร์เซลล์ซึ่งมีการใช้ครอบคลุมพื้นที่ในญี่ปุ่นอย่างกว้างขวางหลังจากจากการเกิดแผ่นดินไหวส่งผลต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะในเดือนมีนาคม 2011 
นอกจากนี้แผนงานจะมีการทบทวนการผลิตเสื้อผ้าจำนวนมากและการบริโภคเสื้อผ้า ที่จะมีการส่งเสริมให้มีการใช้ซ้ำและซ่อมผ้า รวมถึงความยั่งยืนในการบริโภคเสื้อผ้าด้วย

อ้างอิง : https://www.japantimes.co.jp/news/2022/08/27/business/japan-circular-economy-expansion/

ข่าวสารความเคลื่อนไหว
เครือข่าย IWIN เปิดตัวโครงการ Circular Upholstery Textile เป้าหมายเพื่อเปลี่ยนเส้นทางของเสียจากหลุมฝังกลบกลับมาใช้ใหม่และการรีไซเคิล
Le Casino เปลี่ยนขยะเป็นโอกาสกับเส้นทางเดินของรองเท้ารักษ์โลก
ยุทธศาสตร์ใหม่ของสหภาพยุโรปสำหรับสิ่งทอที่ยั่งยืนและสิ่งทอหมุนเวียน
COP27 เริ่มแล้ว ประเด็นร้อนการหารือเรื่องการให้ชาติร่ำรวยต้องชดเชยให้กับชาติยากจนที่ได้รับผลกระทบจากโลกร้อน
Marimekko นำร่องโครงการ Closed Loop โดยใช้วัสดุเหลือใช้
นวัตกรรมเส้นใยจากใบอ้อยสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตรสู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นจากธรรมชาติ
อุตสาหกรรมสิ่งทอแฟชั่นขานรับ BCG โมเดล พัฒนาธุรกิจด้วยความยั่งยืน